วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา


ตอบคำถามต่อไปนี้

1. ให้นักศึกษาอธิบายคำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ
ศีลธรรม หมายถึง ความประพฤติที่ดีงามของมนุษย์ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาหรือเชื้อชาติของบุคคลนั้น แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับมโนธรรมหรือที่เรียกว่าจิตสำนึกที่ดีงามของบุคคลนั้นๆ ที่มนุษย์ทุกคนควรจะมี เช่น ความยุติธรรมภายในจิตใจ ความรู้ผิดชอบชั่วดี ความซื่อสัตย์ สุจริต ความชอบธรรม เป็นต้น
จารีตประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่มนุษย์ประพฤติสืบทอดต่อๆกันมา ซึ่งมักจะเป็นส่วนของการกระทำภายนอกของมนุษย์ โดยที่จารีตประเพณีอาจเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม เช่น เรื่องของการผิดผีระหว่างหญิงกับชาย ที่มีการแตะเนื้อต้องตัวกันก่อนแต่งงาน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทั้งคู่จะต้องแต่งงานและทำพิธีขมา จารีตประเพณีนี้เป็นเรื่องของผู้คนทางภาคเหนือและภาคอีสานของไทย แต่ไม่ใช่จารีตประเพณีของภาคใต้ เป็นต้น
กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคม ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย ไม่สามารถฝ่าฝืนได้ แต่หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษตามที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ กฎหมายยังเป็นสัญลักษณ์และเครื่องมือที่แสดงให้เห็นถึงความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม
ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมายมีความแตกต่างกันในด้านของการบังคับใช้ กฎหมาย ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มีการกำหนดแบบแผนที่ชัดเจนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี เป็นแบบแผนที่กำหนดไว้แต่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงการปฏิบัติสืบต่อกันมา ถ้าไม่ทำตามก็ไม่มีข้อกำหนดในการลงโทษอย่างชัดเจน และศีลธรรม เป็นเรื่องของจิตสำนึกภายในจิตใจในความเป็นมนุษย์ ซึ่งต่างจากจารีตประเพณีและกฎหมายอย่างสิ้นเชิงที่เป็นเรื่องของการกระทำภายนอก แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย ก็ถือเป็นสิ่งที่มาคอยช่วยกำกับการกระทำของมนุษย์ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและดีงาม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข

อนุทินที่ 8 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม SWOT



แนวคิดของ SWOT Analysis
         
จากการอบรมเรื่อง SWOT Analysis กับ ดร.วนิดา ชุมนุม ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ..2560 ดิฉันได้รับความรู้มากมาย ดังต่อไปนี้
SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การหรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง  จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต  SWOT  ย่อมาจากข้อความที่มีความหมายดังนี้
Strengths               หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses             หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities          หมายถึง โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats                  หมายถึง อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ

หลักการสำคัญของ SWOT  ก็คือ การวิเคราะห์โดยการสำรวจสภาพแวดล้อม 2 ด้าน ได้แก่สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อให้รู้จักตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อมอย่างชัดเจน รวมไปถึงการวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคต่างๆอีกด้วย  การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่จะมีผลต่อองค์กร จุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์และกิจกรรมดำเนินการขององค์กรที่เหมาะสมต่อไป 

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7พ.ร.บ.ภาคบังคับ และ พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ



อนุทินที่ 7

ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ) ลงในบล็อกของนักศึกษา

1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ตอบ  เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการโดยให้แยกภารกิจเกี่ยวกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม ไปจัดตั้งเป็นกระทรวงวัฒนธรรม จึงเป็นการสมควรปรับปรุงการบริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบกับสมควรให้มีคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรการอาชีวศึกษาทุกระดับที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ สนับสนุนทรัพยากร ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการอาชีวศึกษาด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 6 แบบฝึกหัดทบทวน บทที่ 3


แบบฝึกหัดทบทวน

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคาถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. นักศึกษาอธิบายคานิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
ตอบ
ก. การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
ค. การศึกษาตลอดชีวิต หมายความว่า การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
ง. มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสาหรับส่งเสริมและกากับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กากับดูแลสถานศึกษานั้น
ช. การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
ซ. ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ฌ. ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
ญ. คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
ฒ. ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
ณ. บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 5 วิเคราะห์ข่าวความขัดแย้งของพระ



ข่าวเกี่ยวกับพระสงฆ์
พระพุทธะอิสระ เหน็บแรง เทียบพระธัมมชโย เป็นกบฏผีบุญตัวที่ 3




พระพุทธะอิสระ โพสต์เหน็บแรง เปรียบเทียบพระธัมมชโย เป็นกบฏผีบุญตัวที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปฏิเสธการปกครองของเจ้าคณะปกครอง

             วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560 มีรายงานว่า พระพุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กแฟนเพจ หลวงปู่พุทธะอิสระ (Buddha Isara) วิจารณ์ถึงพระธัมมชโยและวัดพระธรรมกายอีกครั้ง โดยระบุว่า และแล้วกบฏผีบุญตัวที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็เกิดขึ้นจนได้ โดยผีบุญตัวแรกเกิดขึ้นในสมัยต้นราชวงศ์จักรี ส่วนกบฏผีบุญตัวที่ 2 เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 จนเวลาล่วงเลยมาถึงปัจุจบัน ไม่มีใครคาดคิดว่ากบฏผีบุญจะเกิดขึ้นอีกในยุคนี้
             โดยพระพุทธะอิสระ ได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าคณะภาค ถามว่า ท่านได้ใช้อำนาจทางการปกครองตามกฎมหาเถรสมาคม ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ เพื่อสั่งการไปยังพระธัมมชโยและภิกษุผู้อยู่ในวัดพระธรรมกายบ้างหรือไม่ ซึ่งท่านเจ้าคณะภาคตอบกลับมาว่า ได้สั่งการให้ออกมามอบตัวแล้วเป็นสิบ ๆ ครั้ง แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับจากทางวัดพระธรรมกายเลย แล้วจะให้ท่านทำอย่างไร
             นี่คือเครื่องแสดงให้เห็นได้ชัด ๆ ว่า ลัทธิทำจนตัวตายนอกจากจะปฏิเสธกฎหมายไทยแล้ว ยังปฏิเสธการปกครองของเจ้าคณะปกครองอีก แล้วเช่นนี้จะไม่เรียกว่าเป็น "กบฏผีบุญ" จะให้เรียกว่าอะไร

อนุทินที่ 4 ตอบคำถามจากบทเรียน บทที่ 2



แบบฝึกหัดทบทวน

เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร  และประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร  อธิบาย
ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ คณะราษฏร์
เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรก คณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า”
         ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช  2492  ได้กำหนดอย่างไร  อธิบาย 
ตอบ หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
                             มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ  การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
                             มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
                   มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 3 วิเคราะห์ข่าวทางการศึกษา


ข่าวเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษา

นักเรียนม.5 ร้องสื่อ ถูกครูพละปาแก้วใส่ ทำหน้าเบี้ยวเสียโฉม




(13 ก.ย.) เมื่อเวลา 11.00 น. นางปราณีย์ จอดสันเทียะ อายุ 48 ปี  ได้นำตัว น้องทราย อายุ 17 ปี นักเรียนชั้นม.5 โรงเรียนแห่งหนึ่งในอ.โชคชัย จ.นครราชสีมา พร้อมใบหน้าที่เสียโฉม ปากเบี้ยวตาซ้ายปิดไม่สนิทเข้าร้องเรียนกับสื่อมวลชนประจำจังหวัดปทุมธานี หลังถูกครูพละศึกษาปาถ้วยแก้วเซรามิคใส่ที่ใบหน้าถูกบริเวณคิ้วด้านซ้ายจนประสาทเสีย ใบหน้าเริ่มเบี้ยวและเสียโฉม ตนเองแจ้งความไว้ที่สภ.โชคชัย จ.นครราชสีมา แต่เรื่องกับเงียบสนิท จึงเดินทางมาร้องเรียนต่อสื่อมวลชนก่อนจะเดินทางเข้าพบแพทย์ที่ รพ.รามาธิบดี เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บของลูก