วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา


ตอบคำถามต่อไปนี้

1. ให้นักศึกษาอธิบายคำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ
ศีลธรรม หมายถึง ความประพฤติที่ดีงามของมนุษย์ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนาหรือเชื้อชาติของบุคคลนั้น แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับมโนธรรมหรือที่เรียกว่าจิตสำนึกที่ดีงามของบุคคลนั้นๆ ที่มนุษย์ทุกคนควรจะมี เช่น ความยุติธรรมภายในจิตใจ ความรู้ผิดชอบชั่วดี ความซื่อสัตย์ สุจริต ความชอบธรรม เป็นต้น
จารีตประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่มนุษย์ประพฤติสืบทอดต่อๆกันมา ซึ่งมักจะเป็นส่วนของการกระทำภายนอกของมนุษย์ โดยที่จารีตประเพณีอาจเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม เช่น เรื่องของการผิดผีระหว่างหญิงกับชาย ที่มีการแตะเนื้อต้องตัวกันก่อนแต่งงาน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทั้งคู่จะต้องแต่งงานและทำพิธีขมา จารีตประเพณีนี้เป็นเรื่องของผู้คนทางภาคเหนือและภาคอีสานของไทย แต่ไม่ใช่จารีตประเพณีของภาคใต้ เป็นต้น
กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคม ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อย ไม่สามารถฝ่าฝืนได้ แต่หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษตามที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ กฎหมายยังเป็นสัญลักษณ์และเครื่องมือที่แสดงให้เห็นถึงความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม
ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมายมีความแตกต่างกันในด้านของการบังคับใช้ กฎหมาย ทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด มีการกำหนดแบบแผนที่ชัดเจนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี เป็นแบบแผนที่กำหนดไว้แต่ไม่ได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงการปฏิบัติสืบต่อกันมา ถ้าไม่ทำตามก็ไม่มีข้อกำหนดในการลงโทษอย่างชัดเจน และศีลธรรม เป็นเรื่องของจิตสำนึกภายในจิตใจในความเป็นมนุษย์ ซึ่งต่างจากจารีตประเพณีและกฎหมายอย่างสิ้นเชิงที่เป็นเรื่องของการกระทำภายนอก แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย ก็ถือเป็นสิ่งที่มาคอยช่วยกำกับการกระทำของมนุษย์ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและดีงาม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข


2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ
ศักดิ์ของกฎหมาย คือ การจัดลำดับชั้นหรือความสูงต่ำของกฎหมาย หรือกล่าวได้ว่า กฎหมายมีลำดับความสูงต่ำที่ไม่เท่าเทียมกัน จึงจำเป็นต้องมีการจัดลำดับเพื่อใช้ในการตีความและการยกเลิกกฎหมายต่างๆ โดยที่กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุดเนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญครอบคลุมกฎหมายทุกประเภท ทั้งนี้ กฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะไม่สามารถมีเนื้อหาขัดแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่าได้
เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมาย คือ พิจารณาจากองค์กรหรือผู้ที่มีอำนาจในการตรากฎหมาย กฎหมายที่ถูกตราด้วยผู้ที่มีอำนาจสูงกว่าจะมีลำดับชั้นสูงกว่ากฎหมายที่ถูกตราด้วยผู้ที่มีอำนาจต่ำกว่า
ซึ่งจากกฎหมายข้างต้นสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น  ออกเป็น  7  ลำดับชั้น  ดังนี้
1.  รัฐธรรมนูญ  คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช.
2.  พระราชบัญญัติ
3.  พระราชกำหนด
4.  พระบรมราชโองการ
5.  พระราชกฤษฎีกา 
6.  กฎกระทรวง
7.  เทศบัญญัติ

3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า


"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" 
จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ ดิฉันคิดว่าการกระทำของครูคนนั้นเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ครูไม่สามารถกระทำความรุนแรงกับนักเรียนได้ เพราะเป็นการสร้างบาดแผลภายในจิตใจให้กับนักเรียน ยิ่งไปกว่านั้น พฤติกรรมรุนแรงเหล่านี้จะถูกฝังลึกลงในจิตใจของนักเรียน จนอาจทำให้หนักเรียนคนนั้นหรือเพื่อนร่วมห้องที่อยู่ในเหตุการณ์กลายเป็นคนที่มีความก้าวร้าวได้ ซึ่งจริงๆ แล้วปัญหาของการอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ของนักเรียนอายุ 6 ขวบที่อยู่ในชั้น ป.1 นั้น เป็นปัญหาที่สามารถพบได้โดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กที่เพิ่งเลื่อนระดับชั้นการศึกษาจากระดับอนุบาลมาเป็นระดับชั้นประถมศึกษา ดังนั้น แทนที่ครูจะทำการรุนแรงกับนักเรียน ครูควรหาวิธีหรือแนวการสอนในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาการอ่านให้กับนักเรียน เช่น ให้นักเรียนทำกิจกรรมมากขึ้น เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน มีการมอบหมายการบ้านให้ผู้เรียนได้ฝึกอ่านมากยิ่งขึ้นไป ไม่ควรใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เพราะการกระทำเช่นนั้น ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาการอ่านแก่นักเรียนได้ ซ้ำร้ายยังทำให้นักเรียนบาดแผลทั้งกายและใจ ส่งผลให้มีทัศนคติไม่ดีทั้งต่อครูผู้สอนและต่อการเรียน ยิ่งไปกว่านั้นการกระทำนี้ยังส่งผลต่อตัวครูผู้สอนเอง คือ ครูได้ประพฤติผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อปฏิบัติทางวินัยจึงต้องได้รับโทษทางวินัยที่ระบุไว้ในมาตรา 96 ซึ่งต้องโทษลาออก


4. ให้นักศึกษา สวอท. ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (คะแนน)
ตอบ  วิเคราะห์ SWOT ของตนเองต่อวิชาที่เรียน
จุดแข็ง (S)
1. เวลาอาจารย์สอนจะคิดตามสิ่งที่อาจารย์สอนและเชื่อมโยงไปยังความรู้เดิม
2. มีความตั้งใจเรียนในขณะที่อาจารย์สอน
3. ชอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆในห้องเรียน ทำให้มีมุมมองใหม่ๆ
4. สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการทำกิจกรรมในห้องเรียนได้ดี
5. มีความรับผิดชอบในการทำงานที่อาจารย์สั่ง

จุดอ่อน (W)
1. ไม่กล้าตัดสินใจ ต้องคอยถามจากเพื่อนๆ
2. มีความสะเพร่าในการทำชิ้นงานและข้อสอบ
3. เป็นคนที่ขี้ลืม ไม่สามารถจำอะไรได้นานๆ โดยเฉพาะเนื้อหาที่เรียน
4. ความรู้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง ทำให้บางครั้งไม่เข้าใจเนื้อหาวิชาและสิ่งที่อาจารย์พูด
5. อ่านหนังสือเฉพาะวันก่อนสอบ

โอกาส (O)
1. มีประสบการณ์ในการทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่น
2. ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ และศัพท์ใหม่ๆ ในการแปลให้กับเพื่อนๆต่างมหาวิทยาลัย
3. อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและเน้นย้ำสิ่งที่สำคัญเสมอ
4. สามารถถามอาจารย์ในสิ่งที่ไม่เข้าและอาจารย์จะตอบคำถามให้อีกครั้งอย่างชัดเจน
5. สามารถนำทฤษฎีที่เรียนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
6. ในการเรียนวิชานี้สามารถนำความรู้และทฤษฎีมาวิเคราะห์ข่าวและกรณีศึกษาได้

อุปสรรค (T)
1. จำความหมายศัพท์เฉพาะบางตัวไม่ได้ ทำให้บางครั้งไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่เรียน
2. มีการปิดภายในบ่อยๆทำให้เนื้อหาที่เรียนไม่ต่อเนื่องกัน จนบางครั้งลืมเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว และเชื่อมโยงกับเนื้อหาใหม่ไม่ทันเพื่อน
3. ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันทำให้ไม่มีความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา
4. เน้นเสียงคำศัพท์ผิดตำแหน่ง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสาร

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (คะแนน)
ตอบ
ข้อดี
ในประเด็นของการสอน ดิฉันชอบรูปแบบการสอนของอาจารย์ คือ การเปลี่ยนให้นักศึกษาได้เปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้สอน ได้ทำงานกลุ่มโดยการศึกษาเนื้อหาให้เกิดความเข้าใจ แล้วนำมาถ่ายทอดให้กับเพื่อนๆ มีการให้ส่งงานผ่านบล็อก เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการสอน ซึ่งตัวนักศึกษาเองสามารถทำงานส่งได้ทุกที่ ทุกเวลา มีความสะดวกในการส่งงาน ไม่จำเป็นต้องรอพบอาจารย์ในการส่งงาน (กรณีที่อาจารย์ไม่ค่อยว่าง) ไม่เปลืองทรัพยากร(กระดาษ)ในการทำงานส่ง ทั้งนี้ งานที่ส่งไปไม่เสี่ยงต่อการสูญหายอีกด้วย ในส่วนของอาจารย์ผู้สอนเองมีความสะดวกในการตรวจงาน ไม่จำเป็นต้องแบกชิ้นงานจำนวนมากไปตรวจ ไม่ต้องนั่งอยู่กับกองกระดาษที่เต็มโต๊ะในขณะตรวจงาน
ข้อเสีย
บางครั้งอาจารย์มีภาระหน้าที่ในการสอนเยอะ อาจารย์ต้องสอนนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโททำให้บางครั้งไม่สามารถดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น