วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 2 ตอบคำถามจากบทเรียน


แบบฝึกหัดตอบคำถามท้ายบท
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ไม่สามารถอยู่ได้โดยลำพังไปตลอดชีวิต จำเป็นต้องดำรงชีวิตโดยพึ่งพาอาศัยเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่เสมอ ดังนั้น ในการอยู่ร่วมกันจำเป็นต้องมีกฎระเบียบ ข้อตกลงต่างๆในการอยู่ร่วมกัน เพราะมนุษย์แต่ละคนต่างก็มีลักษณะนิสัย ความคิด ลักษณะการดำรงชีวิตแตกต่างกันออกไป ซึ่งกฎระเบียบ ข้อตกลงต่างๆเหล่านั้นมีขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์มีระเบียบแบบแผนในการดำรงชีวิต ไม่ทำสิ่งต่างๆตามใจตัวเอง ซึ่งอาจนำความเดือดร้อนมาสู่ผู้อื่นได้ กฎหมายจะช่วยควบคุมความประพฤติของคนในสังคมให้อยู่ในความเรียบร้อยและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข อาจกล่าวได้ว่า กฎหมายเกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดไปจนตาย แต่หากไม่มีกฎหมายมาคอยควบคุมความประพฤติของคนในสังคมอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งได้ สังคมเต็มไปด้วยความวุ่นวาย และความเดือดร้อน

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ ดิฉันคิดว่าสังคมปัจจุบันจะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีกฎหมาย เพราะกฎหมายเป็นข้อกำหนด ระเบียบแบบแผนในการดำรงชีวิต กฎหมายจะช่วยควบคุมความประพฤติของคนในสังคมให้อยู่ในความเรียบร้อยและสงบสุข เนื่องจากในปัจจุบันผู้คนมีจิตใจร้อน ไม่คิดอะไรให้รอบคอบ มักแย่งชิงและแข่งขันกันอยู่เสมอ ความรุนแรงก็เกิดขึ้นทุกวัน ดังข่าวที่ครูทำร้ายร่างกายนักเรียน พ่อ(เลี้ยง)หรือแม่(เลี้ยง)ทำร้ายร่างกายลูก บางครั้งก็ถึงแก่ชีวิต มีการทะเลาะวิวาทกันเกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งหากไม่มีกฎหมายสังคมคงร้อนเป็นไฟ เพราะไม่มีกฎระเบียบ หรือข้อกำหนดในการลงโทษผู้ที่ทำผิด หรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น อาจมีโจรชุกชุม มีแต่คนที่ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงผู้ที่อยู่เบื้องล่าง ผู้คนก็จะเดือดร้อนและไม่มีความสงบสุข ผู้คนในสังคมก็ไม่มีความสุข



3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย  
          ตอบ กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยผ่านหลักการและเหตุผลและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย 
ตอบ ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมายมี 4 ประการ คือ
1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฏฐาธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดสามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ มิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์
3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในประเทศนั้นอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติเพื่อให้สังคมจะสงบสุขได้
4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆกำหนด หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษได้ตามที่กฎหมายกำหนด สภาพบังคับในทางอาญา คือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ แต่หากเป็นคดีเพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหาย
ค. ที่มาของกฎหมาย
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนด หากนำไปบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็มีสภาพเป็นกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆศาสนาที่สอนให้คนเป็นคนดี กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา คำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของนักนิติศาสตร์ว่าสมควรออกกฎหมายอย่างนั้นหรือไม่ เพื่อแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย มีดังนี้
          ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
             1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                             1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
                             1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
             2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                   2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน
                   2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
             3. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                   3.1 กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
                   3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
             4. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
                   4.1 กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็น ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมเป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคมคือกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดระเบียบ
                   4.2 กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
          ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
             1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐใน การที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน เช่น กำหนดข้อบังคับการทำสงครามระหว่างกันและกัน กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
             2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน รัฐต่างรัฐๆ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
             3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอก ประเทศนั้นได้ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน กำหนดว่าการกระทำความผิดนอกประเทศ

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ เนื่องจากในการอยู่ร่วมกันในสังคมจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ เพื่อให้คนในสังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเป็นไปอย่างเรียบร้อย และทุกประเทศต้องมีกฎหมายเป็นของตนเอง ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ เนื่องจากบริบทของสังคมทั้งด้านภาษา วัฒนธรรม การดำรงชีวิต ในแต่ละประเทศแตกต่างกันออกไป หากแต่ละประเทศไม่มีกฎหมายบังคับหรือควบคุมความประพฤติของคนในสังคมอาจทำให้สังคมเหล่านั้นเกิดความวุ่นวายและนำไปสู่ความเดือดร้อนในสังคมได้

5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือ การปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนด หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่งมีความแตกต่างกัน คือ สภาพบังคับในกฎหมายแพ่งนั้น กล่าวคือ จะมุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด เช่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือการบังคับให้กระทำการตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล อาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนสภาพบังคับในกฎหมายอาญานั้น มีสภาพบังคับอีกประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษดังกล่าว มีดังนี้ เช่น การจำคุกหรือการประหารชีวิต ซึ่งมุ่งหมายเพื่อจะลงโทษผู้กระทำความผิดให้เข็ดหลาบ ซึ่งบางกรณีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายก็อาจต้องต้องถูกบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งในคราวเดียวกันก็ได้

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ในประเทศต่างๆในโลกนี้มีอยู่ 2 ระบบ คือ
1.ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ (Civil Law) คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร กำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป ระบบระบบกฎหมายนี้เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญมาก คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมายแต่เป็นบรรทัดฐานของการตีความกฎหมาย การวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ในประเทศไทยก็ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ ตัวอย่างเช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ
2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law) คือระบบกฎหมายที่พัฒนามาจากจารีตประเพณี ที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร และคำพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง จุดกำเนิดอยู่ที่ประเทศอังกฤษ การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

8.  ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก  ประเภทของกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
             1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                             1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
                             1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
             2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
                   2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน
                   2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
             3. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                   3.1 กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
                   3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
             4. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
                   4.1 กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็น ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมเป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคมคือกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดระเบียบ
                   4.2 กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
          ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
             1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐใน การที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน เช่น กำหนดข้อบังคับการทำสงครามระหว่างกันและกัน กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
             2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน รัฐต่างรัฐๆ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
             3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอก ประเทศนั้นได้ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน กำหนดว่าการกระทำความผิดนอกประเทศ

9.  ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ เมื่อกล่าวถึง”ศักดิ์ของกฎหมาย” (Hierachy of law)  อาจมีหลายคนอาจไม่เข้าใจว่าศักดิ์ของกฎหมายมีความหมายว่าอย่างไร มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนต่อกฎหมาย โดยทั่วไปในทางวิชาการ มีผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความหมาย ศักดิ์ของกฎหมายไว้ว่า ลำดับชั้นของกฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น
          ตัวอย่างเช่น  รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ คือ รัฐสภา  แต่บางกรณีอาจมีองค์กรอื่นเป็นผู้จัดให้มีกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญได้ เช่น คณะปฏิวัติออกรัฐธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว สามารถแบ่งได้ดังนี้
         1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                         
          2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
          3. พระราชกำหนด                                                      
         4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
         5. พระราชกฤษฎีกา                                                     
          6. กฎกระทรวง
7. ข้อบัญญัติจังหวัด                                                    
          8. เทศบัญญัติ
9. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล

10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือไม่
ตอบ  ดิฉันคิดว่าการกระทำที่รัฐบาลลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนนั้นเป็นสิ่งที่ผิด เพราะประชาชนก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองโดยการชุมนุมซึ่งประชาชนก็ได้ประกาศแล้วว่าจะทำการประชุมกันอย่างสงบ การชุมนุมครั้งนี้ก็เป็นการชุมนุมที่สงบเพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจแต่เพียงต้องการเรียกร้องเพื่อสิทธิของตนเองแค่นั้นเอง ซึ่งในกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ได้ระบุไว้แล้วว่าประชาชนมีสิทธิ ดังนี้
1. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครอง เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว
          2. สิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี บุคคลในท้องถิ่นและชุมชนต้องช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
          3. สิทธิในทรัพย์สิน บุคคลจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของตนและการสืบทอดมรดก
          4. สิทธิในการรับการศึกษาอบรม บุคคลย่อมมีความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
          5. สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและได้มาตรฐาน สำหรับผู้ยากไร้จะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
          6. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ เด็กเยาวชน สตรี และบุคคลในสังคมที่ได้รับการปฏิบัติอย่างรุนแรงและไม่เป็นธรรมจะได้รับการ คุ้มครองโดยรัฐ
          7. สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินหกสิบปี และรายได้ไม่พอต่อการยังชีพ รัฐจะให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
          8. สิทธิที่จะได้สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะแก่บุคคลในสังคม
          9. สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
          10. สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นอย่างเปิดเผย เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะมีผลต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของ ประชาชนส่วนรวม หรือเป็นส่วนได้ส่วนเสียของบุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
          11. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์โดยได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันควรตามบทบัญญัติของกฎหมาย
          12. สิทธิที่บุคคลสามารถฟ้องร้องหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดชอบการกระทำหรือละเว้นการกระทำ ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในหน่วยงานนั้น

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษาคือ บทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษา ขึ้นที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือจะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับ ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมายเพื่อให้ บุคคลประพฤติปฏิบัติตามไปสู่การพัฒนา คนและสังคมสู่ความเจริญงอกงามธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ

12.  ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ ในฐานที่ดิฉันต้องเรียนวิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษานี้ ดิฉันคิดว่าเป็นวิชาที่จำเป็นต้องเรียนและมีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับนักศึกษาครู เพราะหากไม่มีการเรียนวิชานี้อาจทำให้นักศึกษาครูไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายทางการศึกษา อาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นระบบและเกิดความผิดพลาดได้ เราจะไม่ทราบถึงระเบียบ ข้อปฏิบัติของทางราชการ และสิ่งที่ครูต้องปฏิบัติตามความคาดหวังของสังคมในฐานะที่เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนจำเป็นต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ และสิ่งสำคัญอีกอย่าง บางครั้งเราอาจกระทำการใดๆลงไป ที่ไม่เหมาะสมที่ส่งผลกระทบกับบุคคลอื่น อาจก่อความเสียหายในหลายๆทางอาจส่งผลถึงภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของข้าราชการครู ดังนั้นนักศึกษาครูทุกคนจำเป็นต้องเรียนวิชากฎหมายและการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของบุคคลากรทางการศึกษาและจะได้ปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น